วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2552

Illustrator cs3 Program

โปรแกรม Illustrator CS3


การติดตั้ง มีลักษณะการติดตั้งเช่นเดียวกับโปรแกรมทั่ว ๆ ไป ที่ติดตั้งด้วยแผ่น CD-ROM หรือสามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่มีให้ดาวน์โหลดฟรี
การเปิดใช้งานโปรแกรม
หลังจากได้ติดตั้งโปรแกรมเสร็จแล้วก็ทำการเปิดโปรแกรมขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยมีขั้นตอนดังนี้
คลิกเลือก All Programs > ชื่อชุดโปรแกรม > Adobe Illustrator




เราสามารถเลือกรูปแบบการทำงานใน การเปิดโปรแกรมได้ 3 แบบคือ

  1. open Recent Items เลือดเปิดไฟล์งาน โดย คลิก
  2. เลือกค้นหาไฟล์ Create new เลือกรูปแบบของไฟล์งานที่ต้องการสร้างเช่น Print Document (ไฟล์สำหรับออกแบบสิ่งพิมพ์),Web Document (สำหรับออกแบบเว็บเพจ) เป็นต้น
  3. คลิกที่ เพื่อสร้างไฟล์ใหม่จากเทมเพลต

ลักษณะหน้าตาของโปรแกรม Lllustrator
เมื่อเปิดโปรแกรมหน้าแรกที่พบจะเป็นหน้าต่างการทำงานทั้งหมดหรือเรียกว่า “Workspace” มีส่วนประกอบต่างๆ จัดไว้เป็นหมวดหมู่ และมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน


แถบเครื่องมือต่างๆของโปรแกรม Lllustrator

1.แถบคำสั่ง (Menu Bar)
2.กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
3.แถบคอนโทรลพาเนล (Control Panel)
4.ปุ่มเรียกใช้งาน Adobe Bridge
5.พาเนล : หน้าต่างที่รวบรวมคุณสมบัติการทำงานต่างๆ
6.กรอบจัดเก็บพาเนล (Dock Panel)

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การศึกษากับสื่อมัลติมีเดีย

มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อหลายแบบ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์ สามารถผสมผสานกันระหว่างข้อความ ข้อมูลตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงไว้ด้วยกัน ตลอดจน การนำระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (Interactive) มาผสมผสานเข้าด้วยกัน มีผู้ให้นิยามศัพท์ไว้หลายท่าน ดังนี้
Robert Aston,Joyce Schwarz
Computer control of the combinatiotext,graphics,audio,video and
animation data
Tay Vaughan
Multimedia is any combination of text grapgic,art,sound,animation and video that is delivered by computer.When you allow the viewer of the project to control what and when these elements are delivered,it is interactive multimedia.Whenthecan .navigate,interactive multimedia becomes hypermedia
Nicholas Negroponte
True multimedia is interactive digital information which can be viewed in many different ways by the user.Moreover in multimedia,there does not have ot be a trade-off between depth and breadth;the user can explore a topic as broadly and as deeply as she or he desires.
มัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาวะเคลื่อนไหว เสียง วีดีทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง การออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชาสัมพันธ์อยู่หลายด้าน
บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง 2 ลักษณะ
1. เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
2. ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
3. โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทา
5. ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
6. การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
7. คอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูลรูปแบบการสอนเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การ ตรวจสอบ ความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
8. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรูความจำความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ และโครงสร้างของเนื้อหาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ
มัลติมีเดีย และเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีความสำคัญกับการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเรียนในระบบออนไล์ หรือเรียนผ่านระบบเครือข่าย (e-Learning) เพราะการนำเทคโนโลยีทางด้านนี้มาใช้ เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมาก ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับระบบได้ และระบบสามารถเก็บข้อมูลสถิติการเรียน การทดสอบ และพัฒนาการของผู้เรียนไว้เป็นข้อมูลได้เช่นกัน นอกจากการเรียนดังกล่าว เทคโนโลยีมัลติมีเดียยังมีความสำคัญกับการให้บริการสารสนเทศในองค์กรต่าง ๆ ซึ่งเกิดผลดีต่อผู้ใช้ และเป็นการสร้างคุณค่าให้กับสารสนเทศนั้น ๆ ให้มีความสำคัญต่อผู้ใช้ เนื่องด้วยการเข้าถึงสารสนเทศนั้น ๆ ทั้งนี้นอกจากประโยชย์ต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว
ข้อดีของมัลติมีเดียในการศึกษา
1.เทคโนโลยีด้านสื่อมัลติมีเดียช่วยให้การออกแบบบทเรียน ตอบสนองต่อแนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียว่า สามารถช่วยเสริมการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นได้
2.สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบของซีดีรอม ใช้ง่าย เก็บรักษาง่าย พกพาได้สะดวก และสามารถทำสำเนาได้ง่าย
3.สื่อมัลติมีเดียเป็นสื่อการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามศักยภาพ ความต้องการ และความสะดวกของตนเองสามารถสร้างสถานการณ์จำลอง จำลองประสบการณ์ ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วย ตนเอง
4.ในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยสร้างบทเรียน (Authoring Tools) ที่ง่ายต่อการใช้งานทำให้บุคคลที่สนใจทั่วไปสามารถสร้างบทเรียนสื่อมัลติมีเดียใช้เองได้
5. ผู้สอนสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียเพื่อสอนเนื้อหาใหม่ เพื่อการฝึกฝน เพื่อเสนอสถานการณ์จำลอง และเพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้เป็นประการสำคัญ รูปแบบต่างๆ ดังกล่าวนี้จะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และรูปแบบการคิดหาคำตอบ
6. สื่อมัลติมีเดียช่วยสนับสนุนให้มีสถานที่เรียนไม่จำกัดอยู่เพียงห้องเรียน เท่านั้น ผู้เรียนอาจเรียนรู้ที่บ้าน ที่ห้องสมุด หรือภายใต้สภาพแวดล้อมอื่นๆ ตามเวลาที่ ตนเองต้องการ
7. เทคโนโลยีสื่อมัลติมีเดีย สนับสนุนให้เราสามารถใช้สื่อมัลติมีเดียกับผู้เรียนได้ ทุกระดับอายุ และความรู้ หลักสำคัญอยู่ที่การออกแบบ ให้เหมาะสมกับผู้เรียนเท่านั้น
8. สื่อมัลติมีเดียที่มีคุณภาพ นอกจากจะช่วยให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุนของโรงเรียน หรือหน่วยงานแล้ว ความก้าวหน้าของระบบครือข่าย ยังช่วยส่งเสริมให้การใช้สื่อมัลติมีเดียเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษาอื่นๆ อีกด้วย